.....ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อก รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู Information and Communication Technology for Teachers(PC54504) คับ.....

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

บทที่ 3 เทคโนโลยีสำหรับชีววิทยา



          เทคโนโลยีชีวภาพ (อังกฤษ: Biotechnology) คือ เทคโนโลยีที่นำความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ใช้สิ่งมีชีวิต หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น เอนไซม์ หรือโปรตีนชนิดต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์กับมนุษยชาติ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตหรือกระบวนการ ของสินค้าหรือบริการ เพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะอย่างตามที่เราต้องการ โดยสามารถใช้ประโยชน์ทางด้านต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทางการแพทย์ เป็นต้น






             ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพอาจก่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ส่งผลให้เกิดกระบวนการสร้าง กระบวนการทำลาย หรือการก่อให้เกิด
สิ่งใหม่ที่ดำเนินอยู่ในสิ่งมีชีวิต ซึ่งกระบวนการ ทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เป็นผลมาจากการทำงานของสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ และหน่วยพันธุกรรมหรือยีน การศึกษางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพจึงต้องอาศัยความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับสารพันธุกรรม และพฤติกรรมของสารพันธุกรรม
 รวมทั้งวิธีการสำคัญต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการนำไป
ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ      
              ปัจจุบันประเทศในแถบยุโรปมีวิธีการดูแลและปกป้องแหล่งน้ำโดยควบคุมและตรวจสอบคุณภาพน้ำด้วยสิ่งมีชีวิต ซึ่งสามารถติดตามสภาพน้ำที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ออกมาจำนวนมาก เช่น อาศัยความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของปลา สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่ในน้ำ และสาหร่าย เป็นต้น ยิ่งเมื่อประสานประสิทธิภาพของ เครื่องมือตรวจสอบในแหล่งน้ำเหล่านี้กับเทคโนโลยีการประมวลผล และเครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ยิ่งทำให้ได้ผลเชื่อถือได้ เครื่องมือตรวจสอบที่น่าสนใจเหล่านี้เช่น


1. ตรวจสอบคุณภาพน้ำจากการวัดปริมาณการเคลื่อนไหวของปลาเทราต์
นานมาแล้วที่มีการนำปลาเทราต์ โดยเฉพาะตัวเมียมาใช้ในการตรวจสอบมลพิษทางน้ำ แต่เครื่องมือส่วนใหญ่ที่ใช้อยู่สร้างอยู่บนพื้นฐานการใช้โซนาร์ ซึ่งจะมีปฏิกิริยาเมื่อปลาหยุดการเคลื่อนไหว บริษัท CIFEC จึงได้สร้าง Truitel ที่ประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์และ การประมวลสัญญาณอัลตราซาวนด์แบบดิจิตอลเพื่อใช้ในการตรวจจับปฏิกิริยาการเคลื่อนไหวของปลาโดยไม่ต้องรอให้ปลาตาย เครื่องมือดังกล่าวจึงสามารถตรวจจับการปนเปื้อนของสารพิษที่มีปริมาณต่ำกว่ามาก
คลื่นอัลตราซาวนด์จะถูกส่งออกไปเป็นช่วงๆ ในตู้กระจกที่มีปลาเทราต์อยู่ประมาณ 10 ตัว และมีน้ำที่ต้องการตรวจสอบไหลวนอยู่ คลื่นดังกล่าวจะสะท้อนกลับเมื่อปะทะกับสิ่งกีดขวางหรือตัวปลานั่นเอง สัญญาณที่สะท้อนกลับจะถูกบันทึกและขยายด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งลักษณะของสัญญาณจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของปลา เมื่อนำสัญญาณที่บันทึกมาเปรียบเทียบกัน ก็จะสามารถบอกปริมาณการเคลื่อนที่ของปลาได้
ในกรณีที่ปลาไม่ได้เคลื่อนไหว สัญญาณที่สะท้อนกลับมาจะเหมือนกัน และเมื่อนำสัญญาณสะท้อนกลับสองอันมาเทียบกันก็จะมีความแตกต่างของปลา จากนั้นจะมีการนำสัญญณไปวิเคราะห์โดยแบ่งเป็นแถบความถี่สี่เส้นที่สามารถปรับความไวต่อการเคลื่อนไหวได้ ปริมาณการเคลื่อนไหวของปลาจะดูได้จากเส้นกราฟิกบนจอคริสตัลเหลว อุณหภูมิของน้ำจะถูกวัดตลอดเวลาและมีเสียงสัญญาณเตือนถ้าน้ำมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป อุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะไม่มีปฏิกิริยาต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ออกมาจากอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ปั๊มน้ำ หลอดไฟฟ้านีออน โทรศัพท์ หรือ เครื่องปรับความถี่
2. การตรวจน้ำโดยใช้หอยแมลงภู่
Valvometer พัฒนาขึ้นมาโดย Ifrmer ผลิตและทำการขายโดย MICREL เป็นเครื่องมือตรวจสอบการปน
เปื้อนของน้ำที่ให้ผลรวดเร็วทั้งในแหล่งน้ำจืดและน้ำเค็ม Biocapture ชนิดนี้วางอยู่บนพื้นฐานการ
บันทึกการเปิด-ปิดของฝาหอย เครื่องมือชนิดนี้มีขนาดเล็ก ดังนั้น จึงสามารถจุ่มลงไปในน้ำที่ต้องการ
ตรวจสอบไม่ว่าจะเป็นน้ำประปา น้ำทิ้งลงไปในทะเลหรือแม่น้ำ หรือน้ำที่ใช้ในการปลูกผักลอย โดยจะ
สามารถตรวจสอบสารปนเปื้อนต่างๆ ได้ เช่น ยาฆ่าแมลง โลหะหนัก ไฮโดรคาร์บอน แอมโมเนีย
เป็นต้น

โดยปกติแล้วหอยแมลงภู่จะอ้าปากอยู่ตลอดเวลาเพื่อหายใจเอาออกซิเจนและจับแพลงก์ตอนที่ลอยอยู่ในน้ำเป็นอาหาร แต่ทันทีที่น้ำมีการปนเปื้อนสารพิษ หอยจะเกิดอาการระคายเคืองและปิด-เปิด
ฝาตลอดเวลาและจะถี่ยิ่งขึ้นเมื่อน้ำมีสารปนเปื้อนเป็นปริมาณสูงขึ้น
เครื่องมือมีลักษณะเป็นแผ่นกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 300 มิลลิเมตร หนา 43 มิลลิเมตร และมีหอยแมลงภู่จำนวน 8 ตัวติดอยู่ด้านบน ฝาบนของหอยจะมีเครื่องวัดติดอยู่เพื่อทำการบันทึกการปิด-เปิดของฝาหอย หน่วยบันทึกข้อมูลขนาดจิ๋วตรงกลางแผ่นสามารถบันทึกข้อมูลการปิด-เปิดได้กว่า 32,000 ครั้ง และสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์
ข้อมูลต่างๆ จะถูกส่งไปยังเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ด้วยระบบส่งข้อ มูลแบบไร้สายสำหรับการควบคุมอย่างต่อเนื่องจะมีซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณเตือนเมื่อหอยมีปฏิกิริยาถึงจุดที่กำหนดไว้ ซึ่งจะนำไปสู่ขั้นตอนการนำน้ำไปตรวจสอบ
3. เครื่องตรวจสอบคุณภาพน้ำจากการเรืองแสงของสาหร่ายขนาดเล็ก
Fluotox เป็นเครื่องมือวัดการเรืองแสงของสาหร่ายขนาดเล็ก เช่น Scendedsmus subspicatus พัฒนาโดย
ASPECT SERVICE ENVIRONMENT และ ARNATRONIC สารพิษโดยเฉพาะยาฆ่าแมลงจะทำให้
สาหร่ายไม่สามารถทำการสังเคราะห์ด้วยแสงและนำมาใช้ในการเจริญเติบโต พลังงานแสงอาทิตย์ที่
สาหร่ายซึมซับไว้จึงเปลี่ยนเป็นพลังความร้อนและเกิดการเรืองแสง ในกรณีของสาหร่ายสีเขียวขนาด
เล็ก ความเข้มของแสงที่เรืองออกมาจะขึ้นอยู่กับชนิดของสารปนเปื้อน และปริมาณที่อยู่ในน้ำ Fluotox
จึงนำคุณสมบัตินี้มาใช้ในการตรวจสอบน้ำ
สาหร่ายจะถูกนำไปติดไว้ที่ตาข่ายเนื้อเยื่อแล้วนำไปแช่ในกระแสน้ำที่ต้องการตรวจสอบ พร้อมกับฉายแสงสีฟ้าที่ความถี่ 400 Hz เพื่อเป็นการกระตุ้นกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง การเรืองแสงจะถูกตรวจจับโดย Photocell ผ่านฟิลเตอร์อินฟาเรด และส่งไปยังหน่วยประมวลผลอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์จะช่วยให้สามารถประเมินคุณภาพน้ำที่ตรวจสอบได้
เครื่องมือตรวจสอบชนิดนี้สามารถตรวจการปนเปื้อนในกระแสน้ำที่ไหลมาเพียงระยะสั้นๆ และไวต่อสารพิษ
4. การตรวจมลพิษด้วยการวัดการปล่อยกระแสไฟฟ้า ของปลาขตร้อน
เครื่องมือที่ใช้ประโยชน์จากระแสไฟฟ้าที่ปล่อยออกมาของปลาเขตร้อนชนิดหนึ่งในอเมริกาใต้ที่ชื่อ Apteronotus albifrons ตระกูลเดียวกับปลาไหลไฟฟ้า ปลาตระกูลนี้ใช้กระแสไฟฟ้าในการสำรวจสภาพแวดล้อมและเพื่อสื่อสาร ที่ผิวหนังของมันจะมีตัวรับ ภาพสะท้อนไฟฟ้าจำนวนหลายหมื่นตัว กระแสไฟฟ้าที่ปล่อยออกมาจะมีลักษณะเป็นคลื่น โดยมีความถี่และรูปร่างคงที่เมื่อสภาพแวดล้อมเป็นปกติ การเปลี่ยนแปลงความถี่หรือรูปร่าง (ซึ่งอาจเกิดขึ้นทั้งสองอย่างพร้อมกัน) แม้แต่เพียงเล็กน้อยสามารถบอกให้รู้ถึงความผิดปกติของน้ำ หรือการปนเปื้อนจากสารพิษ ความถี่ของสัญญาจะใกล้ 1,000 Hz ซึ่งจัดว่าสูงมากสำหรับไฟฟ้าที่มาจากสิ่งมีชีวิต นับเป็นข้อได้เปรียบสำคัญอันหนึ่งเพราะมีความห่างจากความถี่อุตสาหกรรม (50 Hz) ที่มักก่อให้เกิดคลื่นแทรก
วิธีการนี้ต้องควบคุมอุณหภูมิของน้ำไว้ที่ 25 องศาเซลเซียส แล้วใส่ปลา 3 ตัวลงไปในตู้กระจกขนาดบรรจุน้ำ 15 ลิตร มา 3 ตู้ ตู้ละ 1 ตัว ปลาจะรีบหนีเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในท่อพีวีซีที่มีอุปกรณ์ตรวจจับกระแสไฟฟ้าติดอยู่ตรงทางเข้าและออกรวมทั้งด้านใน
ท่อพีวีซีนี้ทำหน้าที่สองอย่าง คือ ให้ความปลอดภัยกับตัวปลา และช่วยให้การตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าเป็นไปได้โดยง่าย ปลา Apteronotus albifrons เป็นปลาที่ไม่เกิดอาการเครียดง่ายและไม่ค่อยขัดขืนเมื่อนำมาใช้งาน สัญญาณไฟฟ้าจะถูกนำมาขยาย คอมพิวเตอร์จะคอยทำหน้าที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับปลาและน้ำทันทีที่มีการตรวจพบมลพิษ จะมีการนำน้ำไปตรวจสอบเพื่อหาสารพิษปนเปื้อน และปล่อยน้ำใหม่เข้ามาแทนที่เพื่อป้องกันปลาตายโดยอัตโนมัติ
เครื่องมือชนิดนี้สามารถตรวจพบไซยาไนด์ขนาดเข้มข้นได้ในเวลาไม่ถึงชั่วโมง
เหล่านี้คือการประสานเทคโนโลยีและทรัพยากรชีวภาพ เพื่อทำหน้าที่ยามเตือนภัยทางด้านสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลจาก web.ku.ac.th



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น